ราคาลวงตาเมื่อสั่งของพรีเมี่ยม เรื่องที่จัดซื้อต้องรู้เมื่อต้องสั่งของพรีเมี่ยม ราคาเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่สำคัญสุด ๆ เวลาที่เราจะต้องเลือกซื้อของสักอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับฝ่ายจัดซื้อที่ต้องซื้อของให้กับบริษัทฯ เพราะหนึ่งใน KPI หลักก็คือการซื้อของที่ได้คุณภาพมาตรฐานในราคาที่ดีที่สุดที่สามารถหาได้ในท้องตลาด ซึ่งการให้ความสำคัญกับเรื่องราคาเป็นเรื่องที่สมควรทำ แต่สิ่งที่มักเกิดขึ้นหลังจากการให้ความสำคัญเรื่องราคามากเกินไปก็อาจทำให้เราตกหลุมพลางเรื่องราคาก็เป็นได้ บทความนี้จะมาบอกเล่าหลุมพลางเหล่านี้ และราคาที่ถูกซ่อนจากภาพลวงตาของราคาที่ถูกเหล่านี้ว่าราคาที่เห็นว่าถูกแสนถูกอาจจะซ่อนค่าใช้จ่ายต่อจากนั้นด้วยราคาที่อาจจะแพงจนประเมินค่าไม่ได้เช่นกัน เราทำบทความนี้เพื่อเป็นความรู้และคู่มือสำหรับฝ่ายจัดซื้อที่ต้องจัดหาซื้อสินค้าต่าง ๆ เข้าบริษัทโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าพรีเมี่ยมที่ต้องนำไปใช้จัดกิจกรรมทางการตลาด สิ่งที่ต้องระวังเรื่องราคามีอะไรบ้างเรามาดูกันเลย 1.ค่าขนส่ง ค่าขนส่งถือเป็นปัญหาโลกแตกทั้งการขายแบบออนไลน์ และออฟไลน์มาเป็นเวลาช้านาน กรณีนี้ขึ้นอยู่กับผู้ซื้อว่ามีขนส่งเจ้าประจำที่สามารถต่อรองราคา หรือมีเครดิตได้หรือไม่ ถ้าในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ได้แจ้งการใช้ขนส่งของตนเอง ผู้จำหน่ายส่วนใหญ่จะทำการรวมค่าส่งให้โดยอัตโนมัติทั้งแบบระบุรวมในตัวสินค้า หรือบางทีก็แยกค่าส่งให้เห็นชัดเจน โดยส่วนใหญ่ค่าขนส่งที่กำหนดโดยผู้จำหน่ายจะถูกบวกเผื่อไว้เล็กน้อยเพื่อป้องกันการประเมินราคาผิดพลาดทำให้ผู้ซื้ออาจจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายแฝงนี้ในราคาที่แพงขึ้น แต่ในบางกรณีถ้าทางผู้ซื้อไม่ได้มีขนส่งประจำที่ใช้อยู่แล้วต้องหาใหม่เองก็อาจทำให้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอาจจะแพงกว่าที่ผู้จำหน่ายตั้งมาก็ได้ นอกจากนั้นอาจยังมีเรื่องของการรับประกันสินค้าในระหว่างขนส่งด้วย เรื่องนี้ต้องพิจารณาดี ๆ ว่าต้องการความประหยัดหรือความสะดวก 2.ค่าบริการหลังการขาย กรณีนี้เป็นกรณีที่ต้องทำความเข้าใจกันโดยตลอดมาเมื่อเรานำราคาจากแหล่งขายสินค้าราคาถูกมาเปรียบเทียบ เช่น สำเพ็ง หรือ มาเก็ตเพลสทั่วไปอย่างลาซาด้า ช็อปปี้ เป็นต้น แหล่งเหล่านี้มักจะขายสินค้าโดยไม่ได้รวมบริการหลังการขายมาด้วย และเน้นขายเฉพาะตัวสินค้าแบบขายแล้วจบ แม้จะได้ราคาถูกมาแล้วเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสินค้าที่เสียหายแบบเคลมไม่ได้แล้วราคาที่จ่ายอาจจะแพงกว่าก็ได้ นอกจากนั้นการต้องนำสินค้าไปเข้ากระบวนการผลิตต่อไปอย่างการสกรีนเอง อาจจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและมีความเสี่ยงมากจนอาจจะทำให้เราต้องจ่ายมากกว่าที่เราควรจ่าย 3.ดอกเบี้ยแฝง ค่าใช้จ่ายนี้มักจะถูกคิดรวมในตัวสินค้าในกรณีที่มีการซื้อขายแบบมีเครดิต ยิ่งมีเครดิตนานยิ่งอาจจะถูกเหมาดอกเบี้ยในราคาที่สูงขึ้นไปด้วย โดยทั่วไปดอกเบี้ยเครดิตมักจะถูกคิดอยู่ที่เดือนละ 2%-5% ผู้ซื้อส่วนใหญ่อาจจะไม่ทันคิดเรื่องเหล่านี้เพราะมักติดกับการพอใจในการได้เครดิตจากผู้ขายมากกว่า ซึ่งถ้าผู้ซื้อสามารถชำระเงินได้เลยอาจจะต่อรองส่วนลดได้มากกว่า 10% โดยเฉพาะยิ่งถ้าแจ้งความประสงค์จะจ่ายมัดจำให้ในจำนวนที่สูงขึ้น […]
Category Archives: ความรู้สำหรับจัดซื้อ
คู่ค้าชาวจีนส่วนใหญ่ถือเป็นกระบี่มือหนึ่งในเรื่องของการค้าขาย จากประสบการณ์มากกว่า 20 ปีในการนำเข้าสินค้าจากเมืองจีน ขอบอกเลยว่าชาวไทยอย่างเรา ๆ ยังมีวิทยายุทธที่ห่างชั้นจากชาวจีนยิ่งนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนไทยอย่างเรามักมีนิสัยค่อนข้างประณีประนอม ต่างจากคนจีนที่เมื่อค้าขายแล้วผลกำไรต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง ยากมากที่เราจะเห็นคนจีนยอมทำงานแบบเสียเปรียบ การทำงานทุกวินาทีต้องเป็นเงิน ไม่มีทำฟรีแน่นอน นอกจากนั้นการแข่งขันทางการค้าในประเทศจีนต้องถือว่าสูงมาก ๆ สนามแข็งขันในประเทศจีนจึงถือว่าเป็นทะเลสีแดงที่เต็มไปด้วยความยากลำบากต่อการเอาตัวรอด สิ่งเหล่านี้ทำให้คู่ค้าจากประเทศจีนมีความแข็งแกร่งอย่างมาก จากประสบการณ์อันโชกโชน 1.ขั้นตอนการนำเข้าซับซ้อน ถ้าดูไม่ละเอียดอาจเสียเปรียบได้ 2.การคัดกรองโรงงานที่เชื่อถือได้ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเครื่องมือในการคัดกรองการโกงของคู่ค้าชาวจีนเยอะ แต่ก็ยังเห็นการโกงกันอยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นการโกงแบบโอนเงินแล้วหายเลย หรือการส่งของผิดสเป็ก หรือการส่งของไม่ครบจำนวน 3.การโอนเงินยุ่งยากวุ่นวาย 4.ต้องหาตัวแทนในการตรวจคุณภาพสินค้า 5.อุปสรรคเรื่องภาษา และการสื่อสาร 6.ต้องจัดการเอกสารการนำเข้ามากมาย บทความนี้มิได้ต้องการชี้ผิดชี้ถูกแต่อย่างใด เพียงแค่ต้องการอธิบายลักษณะทางธรรมชาติของการนำเข้าสินค้าจากเมืองจีนเท่านั้น